วันจันทร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2559

โครงการอบรมขยายผลกับการขับเคลื่อนการจัดทำแผนเรียนรู้รายบุคคลตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

โครงการอบรมขยายผลกับการขับเคลื่อนการจัดทำแผนเรียนรู้รายบุคคลตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สำนักงานกศน. จังหวัดระยองณอิงธารรีสอร์ทอำเภอเมืองจังหวัดนครนายก ระหว่างวันที่ 20-22 กันยายน 2559

https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=1175505559190988&id=922425534498993

วันพฤหัสบดีที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2559

เข้าปรึกษานายก อบต.ตำบลบางปลาร้า

หาแนวทางการขอใช้ที่ราชพัสดุ โรงเรียนบ้านนาฝุ่น ม.2 ตำบลกระทุ่มแพ้ว อำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี

วันอาทิตย์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ประวัติความเป็นมา


ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา
          ชื่อสถานศึกษา : กศน.ตำบลกระทุ่มแพ้ว อำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี
ที่อยู่ : หมู่ที่ 4  ตำบลกระทุ่มแพ้ว  อำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี  25150
เบอร์โทรศัพท์ : 081-3778830 
E-mail ติดต่อ : burapar-8@hotmail.com

สังกัด
          ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบ้านสร้าง สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดปราจีนบุรี สำนักส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย  สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ  กระทรวงศึกษาธิการ
ประวัติความเป็นมาของ กศน.ตำบลกระทุ่มแพ้ว
           ศูนย์การเรียนชุมชนตำบลกระทุ่มแพ้ว ตั้งอยู่ ณ พื้นที่อาคารเรียนของโรงเรียนกระทุ่มแพ้ววิทยา ตำบลกระทุ่มแพ้ว อำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี จัดตั้งขึ้นเมื่อ วันที่ 30 กันยายน พ.ศ.2553 ซึ่งมีบทบาทหน้าที่ในการจัดการศึกษานอกโรงเรียนสายสามัญ ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544 ตั้งแต่การสอนให้อ่านออกเขียนได้หรือส่งเสริมการรู้หนังสือ การศึกษาในระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย การศึกษาวิชาชีพระยะสั้น การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน การศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต และการศึกษาตามอัธยาศัย และในปัจจุบันหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 การจัดตั้งศูนย์การเรียนชุมชนตำบลกระทุ่มแพ้ว มีความมุ่งหมายที่จะเป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับประชาชนในชุมชน ได้ดังนี้
           1.ศูนย์ข้อมูลข่าวสารของชุมชน (Information Center) เป็นแหล่งที่รวบรวมข้อมูลข่าวสารต่างๆ ของชุมชน เช่นข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร ข้อมูลทางด้านภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ชุมชนข้อมูลทางด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การเมืองการปกครอง การศึกษา สาธารณสุขซึ่งเป็นข้อมูลเดียวกันกับขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นสถานที่ที่คนทั่วไปจะมาศึกษาข้อมูลพื้นฐานของชุมชนได้ในขณะเดียวกันก็จะให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้อื่นๆ ด้วยเช่นข้อมูลเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่น ข้อมูลเกี่ยวกับการประกอบอาชีพ การทำมาหากินในขณะเดียวกันก็จะเป็นแหล่งกระจายข่าวสารข้อมูลของภาครัฐผ่านเสียงตามสายหรืออาจเป็นสถานีวิทยุชุมชน เพื่อกระจายข้อมูลข่าวสารของชุมชนด้วย
           2.ศูนย์สร้างโอกาสการเรียนรู้ (Opportunity Center) เป็นสถานที่ที่จัดให้บริการเพื่อสร้างเสริมโอกาสเรียนรู้ที่ตอบสนองความต้องการของคนในชุมชนเช่น กิจกรรมศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน (Fit it Center) ของวิทยาลัยอาชีวศึกษาที่ประชาชนสามารถมาใช้บริการซ่อมอุปกรณ์ไฟฟ้า วิทยุเครื่องยนต์ขนาดเล็ก กิจกรรมส่งเสริมคุ้มครองผู้บริโภคกิจกรรมให้บริการของหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ ฯลฯดังนั้นกิจกรรมนี้จึงเป็นเสมือนที่นัดพบระหว่างประชาชนกับหน่วยให้บริการต่างๆของรัฐหรือองค์กรอื่นๆ เพื่อสร้างโอกาสการเรียนรู้ของประชาชน
           3.ศูนย์การเรียนชุมชน (Learning Center) เป็นสถานที่จัดกิจกรรมเรียนรู้ต่างๆ ที่ตอบสนองความต้องการของประชาชน เช่นการศึกษาเทียบเท่าการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อยกระดับการศึกษาของประชากรวัยแรงงานซึ่ง                จัดโดย กศน. การศึกษานอกระบบที่จัดหลักสูตรการทำมาหากินในรูปของหลักสูตรระยะสั้นต่างๆรวมทั้งเป็นที่จัดฝึกอบรมประชาชนในหลักสูตรที่ตอบสนองความต้องการของชุมชนต่างๆและการถ่ายทอดความรู้ที่จำเป็นสำหรับประชาชนเช่นการเรียนรู้เกี่ยวกับการอยู่ในประชาคมอาเซียนการเรียนรู้เกี่ยวกับการเป็นพลเมือง (Civic Education) การเรียนรู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง เป็นต้นนอกจากนี้ยังจัดพื้นที่เป็นห้องสมุดชุมชนเพื่อส่งเสริมการอ่านของประชาชนและจัดให้มีเครื่องรับโทรทัศน์และรับสัญญาณดาวเทียมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ผ่านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาต่างๆด้วย
           4.ศูนย์ชุมชน (Community Center) เป็นสถานที่มีคนในชุมชนจะมาทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น การจัดเวทีชาวบ้าน เวทีประชาคมหรือใช้เป็นสถานที่พบปะเสวนา แลกเปลี่ยนความคิดเห็น หรือแม้แต่เป็นที่ "โสเล" หรือ "เขลง" กันในชุมชน กศน.ตำบลจึงทำหน้าที่คล้ายศาลาประชาคมไปพร้อมกันด้วย
          กิจกรรมของ กศน.ตำบลกระทุ่มแพ้ว เหล่านี้จึงมีครูในสังกัดสำนักงาน กศน.เป็นผู้ดำเนินงานจัดให้มีกิจกรรมเหล่านี้ขึ้นโดยเป็นการทำงานร่วมกันกับภาคีเครือข่ายต่างๆ ทั้ง อบต.อบจ.เทศบาลตลอดจนหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน รวมทั้งมีอาสาสมัครต่างๆ ในชุมชน เช่นอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) อาสาสมัคร กศน.อาสาสมัครส่งเสริมการอ่านตลอดจนภูมิปัญญาท้องถิ่น ข้าราชการบำนาญเยาวชนผู้นำท้องถิ่นต่างๆเข้ามาร่วมกันทำงานเพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตในชุมชน
สภาพทั่วไปของตำบล
ประวัติความเป็นมาตำบลบ้านสร้าง
                   กระทุ่มแพ้ว  เป็นชื่อที่มาจากลักษณะของต้นกระทุ่ม   (ต้นกระทุ่ม  เป็นต้นไม้ยืนต้นชนิดหนึ่ง  โดยต้นไม้ดังกล่าวมีลักษณะรูปทรงพุ่ม  ชาวบ้านขณะนั้นเรียกว่า  แพ้ว   (แพ้ว มีลักษณะเป็นกิ่งไม้ที่ห้อยลงคลุมโคนต้น)  โดยตำบลนี้เริ่มตั้งแต่สมัยรัชกาลที่  5  และมีผู้ปกครองคนแรก  คือ  ขุนสำเร็จธุรการ  (ปู้  อารีรอบ)  เป็นนายแขวงกระทุ่มแพ้ว  (นายแขวง  เทียบได้กับกำนันตำบล)  ปัจจุบันมีทั้งหมด  7  หมู่บ้าน
ลักษณะที่ตั้ง
                   ตำบลกระทุ่มแพ้ว  อำเภอบ้านสร้าง  จังหวัดปราจีนบุรี มีพื้นที่  21.42  ตารางกิโลเมตร  หรือประมาณ  13,381  ไร่ อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ขององค์การบริหารส่วนตำบลบางปลาร้า  ห่างจากอำเภอบ้านสร้างประมาณ  18  กิโลเมตร และห่างจากจังหวัดปราจีนบุรี  38  กิโลเมตร
ทิศเหนือ          ติดต่อกับ..........  ต.ไผ่ชะเลือด   อ.ศรีมโหสถ   จ.ปราจีนบุรี
ทิศใต้             ติดต่อกับ..........  ต.ดงน้อย       อ.ราชสาส์น   จ.ฉะเชิงเทรา
ทิศตะวันออก     ติดต่อกับ........... ต.ไผ่ชะเลือด   อ.ศรีมโหสถ   จ.ปราจีนบุรี
ทิศตะวันตก      ติดต่อกับ........... ต.บางขาม      อ.บ้านสร้าง   จ.ปราจีนบุรี




           มีการแบ่งเขตการปกครองออกเป็น  7  หมู่บ้าน ดังนี้
การบริหารการปกครอง
หมู่ที่ 1 บ้านทางข้าม              นายศักรินทร์  อ่ำอินทร์             เป็นผู้ใหญ่บ้าน
หมู่ที่ 2 บ้านนาฝุ่น                 นายประสงค์   แซ่ฉั่ว                เป็นผู้ใหญ่บ้าน
หมู่ที่ 3 บ้านกระทุ่มแพ้ว          นายจิรศักดิ์   อารีรอบ              เป็นผู้ใหญ่บ้าน
หมู่ที่ 4 บ้านกระทุ่มแพ้ว          นายวิศิษ  ใช้ลิ้ม                      เป็นผู้ใหญ่บ้าน
            หมู่ที่ 5 บ้านสะแกงาม            นายบัณฑิต   ขยันยิ่ง                เป็นกำนัน
            หมู่ที่ 6 บ้านไม้สามเรือน          นายชาตรี  สัตย์ซื่อ                  เป็นผู้ใหญ่บ้าน
            หมู่ที่ 7 บ้านดอนตาหอม          นายทวี  รุ่งเรือง                     เป็นผู้ใหญ่บ้าน
                  
กรมการปกครองส่วนท้องถิ่น
                   อยู่ในการปกครองขององค์การบริหารส่วนตำบลบางปลาร้า  มีตำบลในเขตฯ  3 ตำบล คือ ตำบลกระทุ่มแพ้ว,ตำบลบางขาม  และตำบลบางปลาร้า รวม   21  หมู่บ้าน มีสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล  42  คน  โดยมี
ฝ่ายบริหาร
นายสุชาติ  ส่งแสง             นายกองค์การบริหารส่วนตำบล
นายจินดา  หอมชิต            รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล
นายสมเกียรติ  ส่งแสง         รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล
ฝ่ายสภา
                   นายไพศาล  ฮะซิ้ม             ประธานสภา
                   นายนุกูล  โฉมยงค์             รองประธานสภา
                   นายวัชราวุธ  นาคจรูญ        เลขานุการสภา

จำนวนครัวเรือนและประชากร
ตำบลกระทุ่มแพ้ว อำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี  มีจำนวนครัวเรือน ทั้งสิ้น  353 ครัวเรือน  มีจำนวนประชากร รวม 1,150  คน เป็นชาย  567 คน   หญิง   583  คน

การประกอบอาชีพและรายได้
                   ราษฎร ตำบลกระทุ่มแพ้ว  อำเภอบ้านสร้าง  จังหวัดปราจีนบุรี  ประกอบอาชีพ  คือ
- ทำนา,ทำสวน 
- เลี้ยงสัตว์น้ำ  ( ปลาเบญจพรรณ,ปลานิล,ปลายี่สก ,ปลานวลจันทร์และกุ้ง ) 
- รับจ้างในโรงงานอุตสาหกรรม  
- รับจ้างในกิจการการเกษตร 
- ช่าง ,อุตสาหกรรมในครัวเรือน,ค้าขายและรับราชการและธุรกิจส่วนตัว

จุดเด่นของพื้นที่
                    - เป็นตำบลที่มีการประกอบอาชีพเลี้ยง  ปลาและกุ้ง
                   - มีเส้นทางคมนาคมมาก  สะดวกในการติดต่อ และการขนส่ง
                   - มีสถานีที่สาธารณะหลากหลาย  เช่น  ที่ดินสาธารณะ  แหล่งน้ำสาธารณะ
                   - ประชาชนให้ความร่วมมือ
                   - ผู้นำชุมชนมีความสามารถ
                   - ประวัติความเป็นมายาวนาน

                    สภาพทางเศรษฐกิจ
                   ด้านเศรษฐกิจอาชีพหลักของประชาชนในตำบลกระทุ่มแพ้ว ได้แก่การทำนา การทำนาบัว การปลูกพืช และการเลี้ยงปลาเลี้ยงกุ้ง ส่วนอาชีพเสริมได้แก่การแปรรูปปลา เช่นการทำปลาร้า  การปลูกผักบุ้งและการอุตสาหกรรมในครัวเรือนเช่น การทอเสื่อกก
ด้านการปศุสัตว์ประชาชนในตำบลกระทุ่มแพ้วส่วนใหญ่เลี้ยงสัตว์จำพวกโค ไก่ และเป็ด
ด้านการประมงตำบลกระทุ่มแพ้วส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเลี้ยงปลาและกุ้ง
                   ด้านอุตสาหกรรมตำบลกระทุ่มแพ้วไม่มีการประกอบกิจการด้านอุตสาหกรรม
                   ด้านหัตถกรรมตำบลกระทุ่มแพ้ว มีการดำเนินการด้านหัตถกรรมเช่นการทอเสื่อกกเป็นต้น
                  

                   สภาพปัญหาของชุมชน
                   สภาพปัญหาหลักของชุมชนใน กศน. ตำบลกระทุ่มแพ้ว  แบ่งออกได้ดังนี้
                   1. ปัญหาด้านเศรษฐกิจพบว่าปัญหาส่วนใหญ่คือรายได้เฉลี่ยของครัวเรือนไม่แน่นอนปัญหาสินค้าการเกษตรตกต่ำคนในครัวเรือนประกอบอาชีพและมีงานทำน้อยครัวเรือนไม่มีการเก็บออมเงินเนื่องจากรายได้น้อยและรายจ่ายสูงและปัญหาหนี้สินของครัวเรือน
                   2. ปัญหาด้านสังคมพบว่ามีปัญหาเกี่ยวกับยาเสพติดและปัญหาการได้รับการศึกษาของประชากรวัยแรงงานและขาดความรู้ด้านทักษะในการประกอบอาชีพ